วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การตั้งค่าไบออส

การตั้งค่าไบออส
     ไบออส คือเฟิร์มแวร์ที่บบรรจุอยู่ในรอม (แฟลชรอม) ที่ทำหน้าที่การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ซึ้งหากไม่มีอะไรผิดปกติ ก็จะเข้าสู้การโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์มาเก็บไว้หน่วยความจำเพื่อเตรียม ความพร้อมในการโต้ตอบใช้งานกับผู้ใช้ แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น โปรแกรมไบออสจะรายงานแจ้งข้อผิดพลาดให้กับผู้ใช้ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การส่งรหัสเสียงร้องดังบี๊ป กับการแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบบนหน้าจอ

CMOS  (ซีมอส) เป็นชิปหน่วยความจำประเภทหนึ่ง นำมาใช้จัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นและค่าต่างๆ ในไบออส โดยจะมีแบตเตอรี่คอยจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ค่าติดตั้งเหล่านั้น ยังคงอยู่ ไม่สูญหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง

 หน้าที่หลักของไบออส
         
1. ตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          2. ตั้งค่าสถานะให้กับอุปกรณ์
          3. สรุปรายงานและชนิดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตรวจสอบพบ ด้วยการแสดงออกทางหน้าจอ
          4. เรียกใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เพื่อโหลดเข้าไปยังหน่วยความจำหลัก
จุดประสงค์ของการปรับตั้งค่าในไบออส         
          1. เพื่อปรับแต่งระบบต่างๆ ให้ตรงตามที่ต้องการ
          2. เพื่อตั้งค่าสถานะอุปกรณ์ต่างๆ
          3. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของเครื่องเร็วขึ้น
          4. เพื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์ ในกรณีโปรแกรมในไบออสรวน หรือเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ
        
การโอเวอร์คล็อกซีพียู เป็นการรีดปีะสิทธิภาพซีพียูตัวที่ใช้งานอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการประมวลผลสูงขึ้น ในการพิจารณาว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสามารถโอเวอร์คล็อกหรือได้หรือไม่นั้น จำเป็นต้องดูที่ซีพียูและเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ ว่าสนับสนุนการโอเวอร์คล็อกหรือไม่ 

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

บทที่3
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
คู่มือการใช้งาน เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ

  ขั้นตอนการประกอบเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เตรียมเคสคอมพิวเตอร์
1.เตรียมเคสคอมพิวเตอร์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งซีพียู
2.ติดตั้งซีพียู
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งแผงหน่วยความจำ
3.ติดตั้งแผงหน่วยความจำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้ง เมนบอร์ด ลงเคส
4.ติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ
5.เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งฮาร์ดดิสก์
6.ติดตั้งฮาร์ดดิสก์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี
7.ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ
8.ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (ถ้ามี)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด
9.ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด (ถ้ามี)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปิดฝาเคส
10.ปิดฝาเคส 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์ เกมเมอร์
11.ทดสอบการใช้งาน 

เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่

 1. ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี
 2. ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็ง มีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลายวงจรเมนบอร์ดได้
 3. การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป 
4. สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ 
5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง
ไมโครคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์พกพา (Microcomputer)
          ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่ายอาจ จะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ pc
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop หรือ Desktop Computer  เป็น คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล( PC Computer  เป็น ต้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการผลิตที่เน้นให้มีความสวยงาม น่าใช้มากยิ่งขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป (นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แหล็ป-ท็อป) หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปนั้นเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบ ปกติ ในขณะที่ราคาของแล็ปท็อปจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
 https://835d937c-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/hardwaersahrabsux/home/mikhor-khxmphiwtexr-microcomputer/asus_ux21_3_profilo_destro.jpg?attachauth=ANoY7cqbMeK9e_C94_eFId9hmykD1EHYYjWeVtuZwsmunNQcToM72ibyGWJK4d3qKWgSUy2KGK10UtXgOKoN44WupBDVJ65r6V3JudGpr5ObPkyt4YPGG4Lw-SnC34-ThEXQiDtOhYsOwNUNlZUyELjwQ83MSxEZ_9Ukitmi-QLuEdC_JNXiuXDhhObLzbWCbmGkposrZcOm34WWXTp5GOhHqb__Yx6-OfqS8plqK-WJJ_yX7yHTczZE3eT5_PMKLQCAIs2UhplcQlHgEFcmyjS3V3UgTkTLAbc2CsIRCu3fIq_CvJ1pCkc%3D&attredirects=0
Ultrabook คือ รูปแบบ Notebook ที่คาดว่าจะเป็น notebook รูปแบบใหม่ในอนาคตนั่นเอง ซึ่งจุดเน้นก็คือ Ultrabook มีความบางเบามากเป็นพิเศษ  โดยใช้ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลทำให้โหลดและเซฟงานได้เร็วมาก โดยมาตฐานของอินเทลระบุความหนาไว้ที่ ไม่เกิน 21 มม. ต้องมีระยะเวลาของแบตเตอรี่อย่างน้อย 5-8 ชม.  ถ้าใช้โหมดแสตนบายจะต้องเปิดได้ภายในเวลา  2 วินาที และมีระบบความปลอดภัยดีเยี่ยม และราคาไม่เกิน 1,000 USD ซึ่ง Ultra book นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ  Macbook Air
  โดย Ultrabook นั้นสามารถทำได้ทุกอย่างที่ tablet ทำได้ (รวมถึงสัมผัสหน้าจอ) แต่ Ultrabook นั้นจะมีคีย์บอร์ดด้วย
Netbook ส่วนใหญ่จะมีสินค้าระดับล่างถึงกลาง ปัจจุบัน Ultrabook จะมาจับตลาดกลุ่มกลางและกลุ่มบน โดยมีสมรรถนะที่ดีกว่า netbook
โดยในอนาคตนั้น Intel คาดว่า 40% ของโน้ตบุ๊คที่วางจำหน่ายในปี 2012 จะเข้าข่าย Ultrabook
Ultrabook ที่ตอนนี้มีให้เห็นแล้วก็มี Asus UX21 ที่มีความบาง และมีหน้าจอขนาด 11.6 นิ้ว ทำงานด้วยโพรเซสเซอร์ Intel Core i5 และมีน้ำหนักเพียง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็น ไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้ สะดวก

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

การเชื่อมเครือข่าย สามารถเชื่อมต่อได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

   1.การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด
   2.การเชื่อมต่อแบบหลายจุด

     โทโพโลยีแบบบัส จะมีสายเคเบิลเส้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นสายแกนหลักสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายทั้งหมด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโปโลยีแบบบัส

โทโพโลยีแบบวงแหวน โหนดแรกและโหนดสุดท้ายจะเชื่อมโยงถึงกัน ทำให้เกิดมุมมองทางกายภาพเป็นรูปวงกลมขึ้นมา แต่ละโหนดบนเครื่อข่ายแแบบวงแหวนจะส่งทอดสัญญานไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการส่งทอดไปยังทีละโหนดถัดไปเรื่อยๆซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องทวนสัญญานไปในตัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโปโลยีแบบวงแหวน



โครงการหมายเลข 802 เป็นโครงการที่ใหญ่มาก ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากบริษัทผู้ผลิตและสถาบันการฝึกษาที่น่าสนใจในหัวข้อเรื่องเครือข่ายท้องถิ่นและอินเตอร์เน็ตเวิร์ก โดยคณะกรรมการ
ย่อยของแต่ละชุดในโครงการ 802 จแยกกันพัฒนามาตราฐานเครือข่ายท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มีการใช้เลขจุดทศนิยมเพื่อแบ่งแยกเป็นโครงการย่อยๆ

    IEEE 802.3 เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดมาตราฐานของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ต

    IEEE 802.11 เกี่ยวขข้องกับข้อกำหนดมาตราฐานของเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย

    
        ระบบเครือข่ายท้องถิ่้น ประกอบด้วย อีเทอร์เน็ต ไอบีเอ็มโทเก้นริง และ เอฟดีดีไอ

    
 ไอบีเอ็มโทเก้นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ด้วยการใช้โพรโทคอล Token Passing

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอบีเอ็มโทเก้นริง.

   เอฟดีดีไอ จะใช้กลไกการส่งข้อมูลแบบ Token Passing  เช่นเดียวกับไอบีเอ็มโทเก้นริง แต่เอฟดีดีไอ จะทำงานด้วยความเร็วสูงแบบไฟเบอร์ออปติก ทั้งนี้เอฟดีดีไอยังสามารถออกแบบเพื่อรองรับความเสียหหายของระบบได้ ด้วยการเพิ่มวงแหวนในเครือข่ายเพิ่มอีก รวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกันซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิ และวงแหวนทุติยภูมิ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายแบบ เอฟดีดีไอ


อีเทอร์เน็ต ยังสามารถเชื่อต่อได้ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 10Base5, 10Base2, และ 10BaseT ที่ส่งข้อมูลบนควาเร็ว 10เมกะบตต่อวินาที แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาความเร็วเป็็นสวิตช์อีเทอร์เน็ต อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง และกิกะบิตอีเทอร์เน็ต
 

สื่อกลางส่งข้อมูลและการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย

บทที่ 3

สื่อกลางส่งข้อมูลและการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย

การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิตอลในแต่ละครั้งในครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง
การส่งสัญญาณแบบ บรอดแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารหลายช่องทองเพื่อส่งสัญญาณเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อกโดยข้อมูลที่ส่งสามารถลำเลียงอยู่บนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์

สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย จะใช้สายเพื่อจะลำเลียงข้อมูล ตัวอย่างเช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยนำแก้วแสง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย


สื่อการส่งข้อมูลแบบไร้สาย จะลำเลียง ข้อมูลภาพทางอากาศ เนื่องจากอากาศมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง ตัวอย่างเช่น คลื่นวิทยุไมโครเวฟ บลูทูธ และอินฟราเรด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อการส่งข้อมูลแบบไร้สาย

ารพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูล
    1. ต้นทุน
    2. ความเร็ว
    3. ระยะทางและการขยาย
    4. สภาพแวดล้อม
    5. ความปลอดภัย

วิธีการเข้าถึงสื่อกลาง เป็นการนำโพรโทคอลมาใช้เพื่อควบคุมกลไกการส่งข้อมูล และวิธีแก้ไขเมื่อเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้นภายในสายส่ง โพรโทคอลที่นำมาใช้การ ได้แก่ CSMA/CDและ Token Passing



โปรโตคอล CSMA/CD ประกอบด้วยกลไกการทำงาน
     กลไกที่ 1 : การตรวจฟังสัญญาณ
     กลไกที่ 2 : การเข้าถึงสื่อการรวมข้อมูล
     กลไกที่ 3 : การตรวจจับการชนสัญญาณ


โพรโทคอล Token Passing เป็นวิธีการเข้าถึงสือกลางที่ไมมีการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย ทั้งนี้จะมีรหัสโทเก้นคอยวิ่งอยู่บนสายส่ง เพื่อให้โหนดที่ต้องการส่งได้ครอบครองโดยโหนดที่ครอบครองรหัสโทเก้นเท่านั้น ที่จะสามารถส่งข้อมูลบนเครือข่ายได้ เมื่อส่งข้อมูลเสร็จสมบูรณ์จึงค่อยปลดรหัสโทเก้น เพื่อให้โหนดอื่นครอบครองต่อไป




 
ส่วนประกอบของเครือข่าย



 ส่วนประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย
       
 1. สายเคเบิล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1. สายเคเบิล
       
 2. การ์ดเครือข่าย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ดเครือข่าย
         

3. อุปกรณ์เพื่อการเชี่อมโยง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุปกรณ์เพื่อการเชื่อมโยง


 4.เครื่องคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์


 5. ซอฟต์แวร์เครือข่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์เครือข่าย

 6. โพรโทคอล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โพรโทคอล



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รีพีตเตอร์

รีพีตเตอร์/ฮับ  เป็นอุกรณ์ทวนสัญญาณ ที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารทางกายภาพบนแบบจำลอง OSI 
โดยอุปกรณ์ฮับก็คือรีพีตเตอร์ชนิดหนึ่ง แต่เป็นรีพีตเตอร์ที่มีหลายๆ พอร์ต การเชื่องโยงเครือข่ายภาพฮับจะช่วยแค่เพียงเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยระยะทางไกลเท่านั้น
     
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บริดจ์
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกับสะพานเชี่อมโยงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่ายขึ้นไป ทำงานอยู่ในชั้นสือสารกายภาพและชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล สำหรับเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านอุปกรณ์บริดจ์นั้่น จะทำให้เกิดการแบ่งแยกเครือข่ายออกจากกัน ช่วยลดการคับคั้งของข้อมูลที่สื่อสารบนเครือข่าย
      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวิตซ์
สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์ที่ผนวกคุณสมบัติระหว่างบิตและฮับเข้าด้วยกันกล่าวคือการทำงานของสวิตซ์จะเหมือนกันบริด์ที่สามารถคัดกลั่นกรองข้อมูลภายในเครือข่ายได้ ในขณะเดียวกัน สวิตซ์ก็มีหลายพอร์เหมือนกันฮับที่สามารถไปเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หลายเครื่่อง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แอคเซสพอยต์
     แอกเซสพอยต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับรับส่งสัญญาณแบบไร้สาย หลังการทำงานคล้ายกับสวิตซ์แต่รับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เร้าเตอร์
     เร้าเตอร์  จะทำงานในสามลำดับชั้น แรกบนแบบจำลอง OSI ซึ้งประกอดด้วยชั้นสื่อสารทางกายภาพ ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล และชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่ายเร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณที่สำคัญมากในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยเฉพาะ เครือข่ายอิเทอร์เน็ต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกตเวย์
     เกตเวย์  จะทำงานอยู่บนชั้น 7 ลำดับชั้น โดยมักนำเกตเวย์ไปใช้งานเพื่อเป็นประตูการเชื่อมโยงเครือข่ายกับคอมพิวเตอร์ที่สถาปัตยกรรมระบบที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องพีซี กับ เมนเฟรมคอวพิวเตอร์